ในบทความนี้ จะยกตัวอย่างการแก้ไขโดยใช้ภาพตัวอย่างของ “มินิดอซ” โฉมเก่า ซึ่งเม็ดยาฮอร์โมนเป็นเม็ดกลมสีเหลืองเข้ม และเม็ดยาหลอกเป็นเม็ดรีสีเขียวนะคะ
แต่ “มินิดอซ” ที่ใช้ในปัจจุบัน มีการปรับโฉมใหม่แล้ว โดยเม็ดยาฮอร์โมนจะเป็นเม็ดกลมสีเหลืองอ่อน และเม็ดยาหลอกจะเป็นเม็ดกลมสีขาว อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติทางยาและวิธีรับประทานก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น สามารถปรับใช้แนวทางแก้ไขเมื่อลืมรับประทานยาคุม “มินิดอซ” จากบทความนี้ได้เช่นกันค่ะ
แต่สำหรับผู้ที่กังวลว่าจะสับสน และต้องการดูภาพประกอบที่ใช้ “มินิดอซ” โฉมใหม่ แนะนำให้อ่านจากบทความเรื่อง ลืมกินยาคุม “มินิดอซ” แทนนะคะ
“มินิดอซ” เป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแบบ 28 เม็ด ซึ่งเม็ดยาสีเหลืองที่อยู่ในลำดับที่ 1 – 24 ของแผง เรียกว่า “เม็ดยาฮอร์โมน” โดยแต่ละเม็ดจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน Ethinyl estradiol 0.015 มิลลิกรัม รวมกับฮอร์โมนโปรเจสติน Gestodene 0.060 มิลลิกรัม
ส่วนเม็ดยาสีเขียวที่อยู่ในลำดับที่ 25 – 28 ของแผง เป็นเพียงเม็ดแป้ง หรือที่เรียกว่า “เม็ดยาหลอก” นั่นเอง
แนวทางแก้ไขเมื่อลืมรับประทานยาคุม “มินิดอซ” ซึ่งอ้างอิงจากแนวทางขององค์การอนามัยโลก (Selected practice recommendations for contraceptive use – 3rd edition; 2016) และแนวทางของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (U.S. Selected practice recommendations for contraceptive use, 2016) มีดังนี้
- ลืมรับประทาน “เม็ดยาฮอร์โมน”
- ลืมรับประทาน 1 เม็ด (อ่านต่อหน้า 2)
- ลืมรับประทานต่อเนื่องกัน 2 เม็ด หรือมากกว่า โดย…
-
-
- เวลาที่ลืมเม็ดแรก กับเวลาที่กลับมารับประทานต่อ ห่างกันไม่ถึง 48 ชั่วโมง (อ่านต่อหน้า 3)
- เวลาที่ลืมเม็ดแรก กับเวลาที่กลับมารับประทานต่อ ห่างกันอย่างน้อย 48 ชั่วโมง (อ่านต่อหน้า 4)
-
- ลืมรับประทาน “เม็ดยาหลอก” (อ่านต่อหน้า 8)