ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ผู้หญิงไทยที่มีอายุระหว่าง 15 – 59 ปี ทุกสิทธิการรักษา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง, ประกันสังคม หรือข้าราชการ สามารถรับยาเม็ดคุมกำเนิดฟรี จากหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เข้าร่วมโครงการนะคะ
โดยจะได้รับครั้งละ 1 – 3 แผง แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 แผงต่อปี
ซึ่งผู้ที่มีสมาร์ทโฟน สามารถจองสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อเลือกรับยาคุมกำเนิดฟรี จากสถานบริการสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการ ตามวันเวลาที่สะดวก
หรือในกรณีที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ก็สามารถนำบัตรประจำตัวประชาชน ไปรับยาคุมฟรี จากร้านขายยา, คลินิกการพยาบาล, คลินิกเวชกรรม, คลินิกชุมชนอบอุ่น และโรงพยาบาลเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการได้ค่ะ
ในเบื้องต้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังไม่ได้มีการกำหนดสูตรหรือยี่ห้อของยาคุมกำเนิดที่ใช้ในโครงการ
โดยให้แต่ละหน่วยบริการพิจารณาเองตามความเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม จากเงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยให้แก่หน่วยบริการ ยาคุมที่นำมาใช้อาจเป็นยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จะเห็นได้ว่า ยาคุมที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นยาเม็ดฮอร์โมนรวม จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน1 ยกตัวอย่างเช่น
- ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือรักษาหายแล้วไม่เกิน 5 ปี
- ผู้ป่วยมะเร็งตับ หรือมีเนื้องอกในตับชนิดที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็ง
- ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีความรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยและผู้ที่เสี่ยงจะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก, ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหัวใจขาดเลือด
- ผู้ป่วยไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือน
- ผู้ป่วยเอสแอลอีที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นเบาหวานมานานกว่า 20 ปี
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่รักษาด้วยยา หรือเป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันที่สัมพันธ์กับการใช้ยาคุมฮอร์โมนรวม
- ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่
- ผู้ป่วยโรคอ้วน ที่มีประวัติรับการผ่าตัดเพื่อลดการดูดซึมอาหาร
- ภายใน 3 – 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร
- หญิงที่ต้องการให้นมบุตร โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก (ซึ่งแม้จะใช้ยาเม็ดฮอร์โมนต่ำ/ต่ำมากได้ แต่ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยวถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า)
และเนื่องจากเป็นยาคุมสูตรพื้นฐาน ที่ไม่ได้มีผลต้านสิวหรือต้านการบวมน้ำ จึงอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่หวังผลดังกล่าวร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบระหว่างยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมประเภทฮอร์โมนต่ำเหมือนกัน ยาคุมที่ใช้โปรเจสตินรุ่นเก่าอย่าง Norethindrone และ Levonorgestrel จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดน้อยกว่ายาคุมที่ใช้โปรเจสตินที่มีผลต้านสิว-ต้านการบวมน้ำ หรือโปรเจสตินรุ่นใหม่ตัวอื่น ๆ ค่ะ
ส่วนยาคุมที่มีฮอร์โมนสูง นอกจากผลข้างเคียงทั่ว ๆ ไปจากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ และฝ้า จะพบได้มากกว่ายาคุมที่มีฮอร์โมนต่ำแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสูงกว่าอีกด้วย
แต่สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดร่วมกับยาบางชนิดที่ลดประสิทธิภาพของฮอร์โมน ยกตัวอย่างเช่น ยาบางตัวในกลุ่มยากันชักหรือยารักษาวัณโรค การใช้ยาคุมฮอร์โมนสูงก็อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
ดังนั้น ผู้ที่ได้รับยาคุมฟรีเป็นชนิดฮอร์โมนสูง หากมีความกังวล หรือทนผลข้างเคียงดังกล่าวไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษากับหน่วยบริการเพื่อปรับเปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดฮอร์โมนต่ำแทน
ส่วนผู้ที่ได้รับยาคุมฟรีเป็นชนิดฮอร์โมนต่ำอยู่แล้ว หากยังทนผลข้างเคียงที่มีไม่ได้ อาจต้องพิจารณาการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนต่ำมาก, ยาเม็ดฮอร์โมนเดี่ยว หรือวิธีคุมกำเนิดอื่นที่เหมาะสมกว่า
เช่นเดียวกับผู้ที่หวังผลต้านสิวหรือต้านการบวมน้ำ ที่คงต้องใช้ยาคุมสูตรอื่น ซึ่งไม่ได้อยู่ในโครงการยาคุมฟรีนะคะ
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องฟรียาคุมกำเนิดสำหรับหญิงไทยทุกสิทธิ และวิธีจองผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” สามารถดูได้จากคลิปข้างล่าง หรือสอบถามเพิ่มเติมจากสายด่วน สปสช. 1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
เอกสารอ้างอิง
- Summary Chart of U.S. Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use; Updated in 2017.